เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นางวริยา วิจิตรศุภการ

เรื่องที่ 1

ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับ

                   สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม        

                   (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

                   เรื่อง พุทธประวัติ          

ผู้วิจัย         นางวริยา วิจิตรศุภการ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                  โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

ปีที่พิมพ์     2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ

1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) สำหรับนักเรียน   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101)   เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง พุทธประวัติ

3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง พุทธประวัติ

และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี    คอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พุทธประวัติ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบวิเคราะห์เอกสาร  3) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง พุทธประวัติ จำนวน 14 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 5) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 6) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชา  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ครูสอนแบบบรรยาย ขาดเทคนิคการสอน และขาดสื่อที่เร้าความสนใจ นักเรียนอ่านและจดบันทึกตามครู  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติน้อย แนวคิดและทฤษฎีที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ ได้แก่   ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่งเสริมการสร้างความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้

2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง พุทธประวัติ มีชื่อเรีกว่า MPACC Model   มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะกระบวนการ  สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้    มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M) 2) ขั้นนำเสนอเนื้อหาหรือสถานการณ์ (Presentation : P) 3) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis : A) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C)และ   5) ขั้นสรุป (Conclusion : C)และผลจากการประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ มีคะแนนเฉลี่ย 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบ   การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์   เรื่อง พุทธประวัติ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี   คอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พุทธประวัติ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้   ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส 11101) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พุทธประวัติ อยู่ในระดับมาก    ( = 2.61, S.D. = 0.20)


เรื่องที่ 2

ชื่อเรื่อง      การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์

                   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับ

                   การเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1              

ผู้วิจัย          นางวริยา วิจิตรศุภการ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                  โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

ปีที่พิมพ์    2564

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อม  กับการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.28 – 0.90 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 3) แบบทดสอบ วัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก  จำนวน 20 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85

4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า       ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test) แบบ Dependent  

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลง สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนชั้นประถมสึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลง โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Leave a Comment

Your email address will not be published.