เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นางสาวโชติมา ไชยนิจ

ชื่อเรื่องวิจัย     การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย             นางสาวโชติมา  ไชยนิจ ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                    โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก  สำนักการศึกษา  เทศบาลนครขอนแก่น

ปีที่พิมพ์          2561

บทคัดย่อ

การวิจัย ครั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 แผน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.92 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วน  ประมาณค่า (Rating) 3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย 

1.ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.28/83.02 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

2.ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7078 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.78 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.78 

3.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยรวมอยู่ในระดับมาก


ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีไวกอทสกี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย           นางสาวโชติมา ไชยนิจ ตำแหน่ง วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                  โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

ปีที่พิมพ์        2562

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีไวกอทสกี เพื่อพัฒนาทักษะ การอ่าน และการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน      สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย  2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีไวกอทสกี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีไวกอทสกี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีไวกอทสกี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก  สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ครูผู้สอน ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง  การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t

ผลการวิจัย พบว่า

1.ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะ     การอ่านและการเขียนภาษาไทย พบว่า ครูสอนแบบบรรยาย ขาดเทคนิคการสอน และขาดสื่อที่เร้าความสนใจ นักเรียนอ่านและจดบันทึกตามครู เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติน้อย หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวกอทสกี ที่มีหลักการพื้นฐานคือ    1) ผู้เรียนเป็นผู้ที่ลงมือกระทำ (Active) และจะต้องมีส่วนในการเรียนรู้ 2) การเรียนรู้ทุกชนิดเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ถือว่าสังคมเป็นแหล่งสำคัญของการเรียนรู้ และพัฒนาเชาวน์ปัญญา   3) ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ดีและมากขึ้น ถ้าหากมีคนช่วย 4) ผู้เรียนทุกคนมี “The  Zone  of  Proximal  Development” หรือขอบเขตบริเวณความใกล้เคียงพัฒนาเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน  5) การพูดอย่างรู้คิดภายในหรือการคิดในใจ (Inner  Speech) มีความสำคัญในการเรียนรู้

2.รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีไวกอทสกี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีชื่อว่า ARACC Model มีขั้นตอน    การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Attention : A) 2) ขั้นฝึกการอ่าน (Reading : R) 3) ขั้นลงมือทำกิจกรรม (Activity : A) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) และ 5) ขั้นสรุป (Conclusion : C) และผลการประเมินความถูกต้อง ครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้       และมีประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

3.รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีไวกอทสกี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.47/83.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

3.1 นักเรียนผลมีผลการทดสอบการอ่านภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

3.2 นักเรียนผลมีผลการทดสอบการเขียนภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

3.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีไวกอทสกี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 2.62,  S.D.= 0.17)

Leave a Comment

Your email address will not be published.